top of page

Plutchik's Wheel of Emotions

ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค (Robert Plutchik)ได้สร้างสรรค์วงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) ขึ้นมา โดยเสนอว่าอารมณ์หลัก (Basic Emotions) ประกอบด้วย 4 คู่ตรงข้าม ได้แก่

  1. ความรื่นเริง (Joy) คู่กับ ความเศร้า (Sadness)

  2. ความโกรธ (Anger) คู่กับ ความกลัว (Fear)

  3. ความวางใจ (Trust) คู่กับ ความรังเกียจ (Disgust)

  4. ความประหลาดใจ (Surprise) คู่กับ ความคาดหวัง (Anticipation)

จะเห็นได้ว่า อารมณ์รัก (love) อยู่ระหว่าง กลีบสีเหลือง+เขียว นั่นก็คือ ความแจ่มใส+การยอมรับ (Serenity + Acceptance) ซึ่งกว่าจะถึงขั้นที่เรารู้สึกถึง Serenity ก็จะมีความรู้สึกที่ใกล้เคียงกันเกิดขึ้น อันได้แก่ 
- ecstasy ความปิติยินดี ถึงขีดสุด
- joy ความรู้สึกเป็นสุข รื่นเริง

และกว่าจะมาถึงขั้น Acceptance นั้น ก็จะต้องเกิดความรู้สึกสองอย่างนี้ คือ
- admiration ได้รับความชื่นชม
- trust ไว้เนื้อเชื่อใจ

และเมื่อสองกลีบนี้ (เหลือง+เขียว) รวมกันแล้ว จึงกลายเป็นอารมณ์รัก (Love) เกิดขึ้นได้นั่นเอง

แต่ถ้าเกิดไปมีความรู้สึกแบบกลีบเขียว+เขียวเข้ม ก็จะไม่ใช่อารมณ์รักแล้ว มันจะกลายเป็นอารมณ์ยอมเพราะกลัว (Submission) เป็นต้น

 

โดยในแต่ละอารมณ์หลัก ยังประกอบด้วยความเข้มข้น (Intensity) ทางอารมณ์ ที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ในสายธารเดิมของอารมณ์หลักนั่นเอง ได้แก่

  • ความรื่นเริง (Joy) อยู่ระหว่าง ความสงบปลอดโปร่ง (Serenity) และ ความปิติยินดี (Ecstasy)

  • ความเศร้า (Sadness) อยู่ระหว่าง ความหดหู่ (Gloominess) และ ความเศร้าโศก (Grief)

  • ความโกรธ (Anger) อยู่ระหว่าง ความรำคาญ (Annoyance) และ ความเดือดดาล (Fury)

  • ความกลัว (Fear) อยู่ระหว่าง ความขี้ขลาด (Timidity) และ ความหวาดกลัว (Terror)

  • ความวางใจ (Trust) อยู่ระหว่างความยอมรับ (Acceptance) และ ความยกย่อง (Admiration)

  • ความรังเกียจ (Disgust) อยู่ระหว่าง ความไม่ชอบ (Dislike) และ ความรังเกียจเดียดฉันท์ (Loathing)

  • ความประหลาดใจ (Surprise) อยู่ระหว่าง ความไม่มั่นใจ (Uncertainty) และ ความพิศวง (Amazement)

  • ความคาดหวัง (Anticipation) อยู่ระหว่าง ความสนใจ (Interest) และ การเฝ้าดู (Vigilance)

นอกจากนี้เมื่อนำอารมณ์หลักต่าง ๆ มาผสมกันแล้ว ก็จะเกิดอารมณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย เช่น

  • ความรัก (Love) เกิดจาก ความรื่นเริง (Joy) + ความวางใจ (Trust)

  • ความยอมจำนน (Submission) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความกลัว (Fear)

  • ความสะพรึงกลัว (Awe) เกิดจาก ความกลัว (Fear) + ความประหลาดใจ (Surprise)

  • ความไม่ยอมรับ (Disapproval) เกิดจาก ความประหลาดใจ (Surprise) + ความเศร้า (Sadness)

  • ความไม่เชื่อ (Unbelief) เกิดจาก ความประหลาดใจ (Surprise) + ความรังเกียจ (Disgust)

  • ความสำนึกผิด (Remorse) เกิดจาก ความเศร้า (Sadness) + ความรังเกียจ (Disgust)

  • ความสบประสาท (Contempt) เกิดจาก ความรังเกียจ (Disgust) + ความโกรธ (Anger)

  • ความก้าวร้าว (Aggressiveness) เกิดจาก ความโกรธ (Anger) + ความคาดหวัง (Anticipation)

  • ความมองโลกในแง่ดี (Optimism) เกิดจาก ความคาดหวัง (Anticipation) + ความรื่นเริง (Joy)

  • ความปลาบปลื้มใจ (Delight) เกิดจาก ความรื่นเริง (Joy) + ความประหลาดใจ (Surprise)

  • ความอยากรู้ (Curiosity) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความประหลาดใจ (Surprise)

  • ความเชื่อ (Fatalism) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความคาดหวัง (Anticipation)

  • ความอิจฉา (Envy) เกิดจาก ความเศร้า (Sadness) + ความโกรธ (Anger)

  • ความดูถูกถากถาง (Cynicism) เกิดจาก ความรังเกียจ (Disgust) + ความคาดหวัง (Anticipation)

จะเห็นได้ว่า อารมณ์รัก (love) อยู่ระหว่าง กลีบสีเหลือง+เขียว นั่นก็คือ ความแจ่มใส+การยอมรับ (Serenity + Acceptance) ซึ่งกว่าจะถึงขั้นที่เรารู้สึกถึง Serenity ก็จะมีความรู้สึกที่ใกล้เคียงกันเกิดขึ้น อันได้แก่ 
- ecstasy ความปิติยินดี ถึงขีดสุด
- joy ความรู้สึกเป็นสุข รื่นเริง

และกว่าจะมาถึงขั้น Acceptance นั้น ก็จะต้องเกิดความรู้สึกสองอย่างนี้ คือ
- admiration ได้รับความชื่นชม
- trust ไว้เนื้อเชื่อใจ

และเมื่อสองกลีบนี้ (เหลือง+เขียว) รวมกันแล้ว จึงกลายเป็นอารมณ์รัก (Love) เกิดขึ้นได้นั่นเอง

แต่ถ้าเกิดไปมีความรู้สึกแบบกลีบเขียว+เขียวเข้ม ก็จะไม่ใช่อารมณ์รักแล้ว มันจะกลายเป็นอารมณ์ยอมเพราะกลัว (Submission) เป็นต้น

bottom of page