top of page

Concept of Concert

โปรเจคในครั้งนี้จะเป็นการเล่าบทเพลงผ่านความฝันและจัดทำขึ้นมาในรูปแบบของวิดีโอ ในตัววิดีโอจะเป็นการเล่าถึงความฝันของตัวผมเองโดยใช้เพลงเป็นสื่อกลางที่ช่วยสื่อถึงอารมณ์และประกอบกับไดอารี่ความฝันที่บันทึกขึ้นเป็นภาพ ข้อความและคลิปต่างๆ 
โดยแนวคิดครั้งนี้ได้แรงบันดาลใจจากเพลง Violin Concerto No. 1 ของ Sergei Prokofiev 
ในบทเพลงนี้ช่วงเริ่มของบทเพลงมีคำกำกับอารมณ์ของเพลงว่า sognando (dreamily) คึือการบรรเลงให้เสียงออกมาเหมือนดั่งความฝัน บรรเลงให้เหมือนกับว่าเรากำลังจะเข้านอนต่อหน้าผู้ชมที่มาชมเรา จึงเกิดเป็นเเรงบันดาลใจของคอนเซ็ปต์ในครั้งนี้ 
ผู้ชมจะได้ท่องไปในแดนแห่งความฝันที่เกิดจากบทเพลงทั้ง 4 บทเพลง โดยทั้ง 4 บทเพลงจะมีลักษณะและสไตล์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนซึ่งสามารถศึกษาได้จากประวัติความเป็นมาของเเต่ละเพลง 

ความฝันกับวิทยาศาสตร์

ความฝัน คือการแสดงออกของความนึกคิด ความรู้สึก และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในสมอง ในขณะที่เรากำลังนอนหลับอยู่

 

คำว่า "ฝัน" มาจากคำเก่าในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหมายว่า ความยินดี และเสียงดนตรี ความฝันของคนเรามักจะรวมถึงรูป รส

กลิ่น เสียง และสิ่งที่เราสัมผัสได้ บางครั้งเราอาจฝันเรื่องเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งมักไม่ใช่เรื่องที่น่าประทับใจนัก หรืออาจจะเป็นฝันร้าย หรือแม้แต่เรื่ององที่น่ากลัวก็เป็นได้

 

ในบางครั้ง ศิลปิน และนักเขียน บอกว่าพวกเขาได้แนวคิดต่างๆ จากความฝัน ตัวอย่างเช่นนักร้องที่ชื่อ Paul McCartney แห่ง

วง The Beatles ที่เล่าว่า ในวันหนึ่งเขาตื่นขึ้นมา พร้อมกับเสียงดนตรีของเพลง "Yesterday" อยู่ในหัวของเขา ส่วนนักเขียน Mary Shelley บอกว่า เธอมีความฝันที่รุนแรง เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เครื่องจักรทำให้สัตว์โลกชนิดหนึ่งคืนชีพได้ เมื่อเธอตื่นขึ้นมา จึงเริ่มเขียนหนังสือเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ "Frankenstein" ที่สร้างให้สัตว์ประหลาดมาต่อสู้กัน

ในปีคริสต์ศักราช 1900 Singmund Freud นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย ได้ตีพิมพ์หนังสือที่มีชื่อว่า "The Interpretation of

Dreams" หรือการตีความเกี่ยวกับความฝัน เขาเชื่อว่าคนเรามักจะฝันถึงสิ่งที่ตนต้องการ แต่ไม่อาจครอบครองได้ และความฝันเหล่านี้มักจะโยงไปถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ และความก้าวร้าวรุนแรง

 

Carl Jung นักจิตวิทยาชาวสวิส ผู้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Sigmund Freud เป็นเวลานานนับปี แต่กลับพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับ

ความฝันที่แตกต่างออกไป Jung เชื่อว่า ความฝันอาจช่วยให้คนเราเติบโต และเข้าใจในตัวเองมากขึ้น เขาเชื่อว่าความฝันจะบ่งบอกทางแก้ไขปัญหาแต่เขาไม่เชื่อว่า ความฝันซ่อนเร้นความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ หรือความก้าวร้าวรุนแรง

แท้จริงแล้วความฝันมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ซิกมันด์ ฟรอยด์ นายแพทย์ด้านประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ผู้ได้รับฉายาว่า

เป็นบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ซึ่งศึกษาการทำงานของระบบประสาทและความคิดของมนุษย์เพื่อประโยชน์ทางด้านการแพทย์และด้านอื่นๆ โดยฟรอยด์มองว่า ‘ความฝันคือการแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกและแรงปรารถนาบางอย่างที่ถูกกดทับและเก็บซ่อนเอาไว้ข้างในจิตใจลึกๆ ของผู้คน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะผูกโยงอยู่กับเรื่องทางเพศเป็นหลัก’

 

คาร์ล ยุง จิตแพทย์และนักจิตบำบัดชาวสวิตเซอร์แลนด์ ผู้เสนอแนวคิดต่างๆมากมายที่มีอิทธิพลต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชา

จิตเวชศาสตร์คนสำคัญของโลกมองว่า ‘ความฝันคือพลังงานที่มีรูปร่างแบบหนึ่งที่เกี่ยวพันกับจิตใต้สำนึก บ่อยครั้งที่ความฝันของคนเราคือภาพสะท้อนของสิ่งต่างๆ ที่เราพบเห็นและรู้สึกนึกคิดในแต่ละวัน เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่สมองจะมีการประมวลผลและขบคิดถึงสิ่งต่างๆ’

 

คำอธิบายหนึ่งของที่น่าสนใจของความฝันคือ ‘กระบวนการทำงานของสมองที่ใช้ลบข้อมูลที่ไม่จำเป็นในแต่ละวันทิ้งไป และเลือก

ชุดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ซึ่งจะถูกจัดเก็บในคลังของหน่วยความจำระยะยาว’ ซึ่งนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ต่างพยายามหาความเชื่อมโยงระหว่างความฝันและการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในส่วนของฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ที่ควบคุมความจำ และนีโอคอร์เท็กซ์ (Neocortex) ที่ควบคุมความรู้สึกนึกคิดขั้นสูงของมนุษย์

     

จากการทดสอบของสถาบันทางการแพทย์ Max Planck ในเมืองไฮเดลเบิร์ก ของเยอรมนีที่ได้ทำการทดลองกับหนูที่ถูกวางยา

สลบ พบว่าสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์สามารถทำงานได้ดีในขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปแคมปัสให้ประมวลผลและเก็บข้อมูลระยะสั้น โดยสมองส่วนนีโอคอร์เท็กซ์นี้จะเป็นตัวตัดสินใจว่าข้อมูลความทรงจำชุดใดที่จะถูกส่งไปจัดเก็บเป็นข้อมูลระยะยาว และความทรงจำใดควรจะถูกลบและถูกลืมในที่สุด ซึ่งภาพความฝันเสมือนจริงที่เราเห็นขณะที่หลับจึงเกิดขึ้นจากความทรงจำบางชุดถูกสุ่มและตรวจจับได้เป็นพิเศษขณะที่ถูกส่งผ่าน โดยจะถูกผสมผสานและปรุงแต่งเรื่องราวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนนึกคิดและพบเจอ

     

โดยสมองสองส่วนนี้ก็จะทำงานร่วมกันกับสมองส่วนอื่นๆ อีกด้วย เช่น ในขณะที่มีการถ่ายโอนข้อมูลความทรงจำและสมองส่วน

ที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวถูกกระตุ้น คุณอาจจะฝันว่ากำลังเล่นรถไฟเหาะที่สวนสนุก หรืออาจจะกำลังถูกผลักให้ตกลงมาจากหน้าผาสูงจนต้องสะดุ้งตื่นกลางดึก

     

ความฝันจึงเป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งของเซลล์สมองและระบบประสาทนั่นเอง บ่อยครั้งที่ความฝันกินเวลานาน และยิ่ง

ถ้าความฝันนั้นเป็นเหตุการณ์หวาดเสียวและลุ้นระทึกมากๆ ด้วยแล้วก็จะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าได้ง่ายเหมือนไม่ได้พักผ่อน เพราะสมองยังคงทำงานตลอดเวลา ดังนั้นถ้าใกล้ถึงช่วงเวลาพักผ่อน เราควรจะทำให้สมองและจิตใจว่างโดยการฟังเพลงเบาๆ ชิลล์ๆ ก่อนนอน ก็อาจจะทำให้นอนหลับได้เต็มอิ่มมากยิ่งขึ้น

 

ประเภทของความฝัน

 

ความฝันนั้นมีหลากหลายประเภท ตัวอย่างของความฝันที่พบได้ อาจแบ่งได้ ดังนี้

  • ฝันแบบรู้ตัว (Lucid dream)
    ความฝันประเภทนี้เป็นความฝันที่ผู้ฝันทราบว่าตนเองกำลังอยู่ในความฝัน บางคนสามารถควบคุมเรื่องราวในความฝันได้ ความฝันแบบรู้ตัวอาจเกิดจากการทำงานที่เพิ่มขึ้นของสมองส่วนจิตสำนึก ความรู้สึก ความจำ และภาษา ซึ่งโดยปกติสมองส่วนนี้จะทำงานน้อยลงหรือหยุดทำงานชั่วคราวในขณะหลับ ฝันแบบรู้ตัวเป็นภาวะของสมองระหว่างช่วง REM หรือช่วงมีการเคลื่อนไหวดวงตาอย่างรวดเร็วขณะนอนหลับ และในช่วงที่ใกล้ตื่นนอน โดยในช่วงนี้สมองจะมีการตื่นตัวมากที่สุด

  • ฝันซ้ำ (Recurrent dream)
    ฝันซ้ำมักมีรูปแบบความฝันที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดหรือล้มเหลว อย่างการถูกทำร้าย ถูกไล่ล่า ถูกขัง ล้ม สอบตก หรือพลาดงานสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าฝันซ้ำอาจสะท้อนถึงปัญหาในชีวิตจริงที่ยังหาทางออกไม่ได้ ซึ่งอาจหายไปเองเมื่อปัญหานั้นคลี่คลายหรือผู้ฝันมีแนวทางที่จะรับมือกับปัญหานั้น อีกรูปแบบหนึ่งของฝันซ้ำ คือในความฝันผู้ฝันอาจพูดไม่ได้ซึ่งอาจสะท้อนถึงความเขินอายและไม่กล้าแสดงออก

  • ฝันร้าย
    ฝันร้ายเป็นการนิยามลักษณะของความฝันที่น่าหวาดกลัวหรือสร้างความรู้ในด้านลบกับผู้ที่ฝัน ฝันร้ายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและฝันร้ายอาจสะท้อนหรือบ่งบอกถึงสิ่งที่น่ากังวลได้หลายอย่างในชีวิตจริง เช่น ความเครียด ประสบการณ์เลวร้ายที่ฝังใจ ความรู้สึกด้านลบ ปัญหาด้านสุขภาพ อย่างโรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า โรคเกี่ยวกับการนอนหลับ โรคไมเกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น โดยในขณะที่ฝันร้ายผู้ฝันอาจตะโกนหรือกรีดร้องออกมาในขณะหลับและอาจทำให้ตื่นขึ้นได้

ความฝันกับความเชื่อ

คนบางกลุ่มก็เชื่อมโยงความฝันกับตวามเชื่อต่างๆ เช่น ชาวกรีก และโรมันโบราณ เชื่อกันว่า ความฝันคือสารจากพระเจ้า ชาว

อียิปต์โบราณ เชื่อกันว่าผู้ที่เข้าใจความฝันคือบุคคลพิเศษ คนประเทศจีนเชื่อกันว่าความฝันคือหนทางไปเยือนสมาชิกในครอบครัวผู้ล่วงลับไปแล้ว ชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันบางชนเผ่า และชาวเม็กซิกันที่เจริญแล้ว เชื่อว่า ความฝันคืออีกโลกหนึ่ง ที่เราไปเยือนในยามหลับ ในยุโรป ผู้คนเชื่อกันว่า ความฝันคือสิ่งชั่วร้าย และอาจชักนำให้คนหันไปทำสิ่งเลวร้ายได้

ความเชื่อของคนไทยโบราณ เช่น เมื่อหญิงสาวในวัยเหมาะสมจะมีเหย้าเรือนฝันเห็นงู แสดงว่าจะเจอเนื้อคู่ ซึ่งเนื้อคู่ก็จะมี

ลักษณะเช่นเดียวกับงูที่ฝันเห็น  คนที่แต่งงานแล้วหลับฝันเห็นแหวน แสดงว่ากำลังจะมีลูกสาว แต่ถ้าฝันเห็นพระโบราณว่าจะได้ลูกชายในไม่นาน ถ้าฝันว่าตนเองตายหรือญาติสนิทมิตรสหายเสียชีวิต ความหมายของฝันคือการต่ออายุหรือผู้นั้นจะอายุยืน ผู้ทำนายฝันจะพูดให้สบายใจจากความกังวลในเรื่องราวฝันร้าย และอวยพรให้อายุยืน ฝันว่าเสื้อผ้าใหม่ได้ใส่ชุดใหม่ ๆ ฝันนั้นมีความหมายว่าอาจเจ็บป่วยไม่สบายได้ แต่ถ้าฝันมากเรื่องราวปนเปไปมาผู้ใหญ่จะกล่าวว่าเกิดจากตอนกลางวันกินมากเกินไป เป็นความฝันที่เกิดจากการมวนท้อง อาหารไม่ย่อยทำให้ไม่สบายตัวเกิดความฝันขึ้น

 

ประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่าอินเดียนแดง มีการสร้างงานหัตถกรรมของชนเผ่าที่เชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางดักจับความฝันที่เรียก

ว่า “ตาข่ายดักฝัน”  หรือ “เครื่องดักความฝัน” (Dream catcher) เป็นเครื่องรางที่เชื่อกันมาแต่โบราณว่าจะช่วยกรองความฝัน

ให้ฝันดีอยู่กับตัวและฝันร้ายหายไป ลักษณะของตาข่ายดักความฝันหรือเครื่องดักความฝันจะเป็นห่วงวงกลม ด้านในถักทอเป็นตาข่าย ด้านข้างประดับประดาด้วยขนนก ลูกปัด รวมทั้งเครื่องประดับเล็กน้อย โดยส่วนประกอบของเครื่องดักฝันก็จะมีความเชื่อต่างๆ เช่น ตาข่ายเป็นตัวดักฝันร้าย ลูกปัดทำหน้าที่ปัดเป่าสิ่งไม่ดี ขนไก่เป็นพลังงานของนักสู้และมีสัมผัสพิเศษ เป็นต้น

 

Bibliography

bottom of page