top of page

Sergei Prokofiev (1891-1953)

Sergei_Prokofiev_03.jpg

เซอร์เก โปรโคเฟียฟเกิดในครอบครัวที่มีความพร้อมและเริ่มเรียนรู้ดนตรีจากแม่ของเขาที่เป็นนักเปียโน

แม่ของเขาค่อนข้างมีความสําคัญในชีวิตของเขามากในเรื่องของดนตรี เพราะแม่เขาเป็นคนเริ่มสอนเปียโนให้เขา แม่เขามีความชอบในบทเพลงของเบโธเฟน โชแปงและลิสท์ ทําให้โปรโคเฟียฟได้ฟังเพลงตอนเด็กอยู่บ่อย ๆ แม่เขาได้พาไปเข้าเรียนที่สถาบันดนตรีเซ็นท์ปีเตอร์สเบิร์กทําให้โปรโคเฟียฟได้เจอและได้แลกเปลี่ยนความรู้กับนักประพันธ์เพลงมากหน้าหลายตามากขึ้น โปรโคเฟียฟเป็นคนค่อนข้างมีความคิดเป็นของตัวเอง มีความต้องการในการทําสิ่งต่าง ๆ ค่อนข้างชัดเจน มีความคิดในการอยากจะสร้างสิ่งใหม่ ในช่วงที่มีสงครามเขาได้รับการยกเว้นจากทหารด้วยการลงชื่อเป็นนักออร์แกน และหลังจากการปฏิวัติโปรโคเฟียฟได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศได้ เขาได้นําโน้ตเพลงของเขาไปด้วย ตอนนั้นเขาเดินทางไปอเมริกา ไวโอลินคอนแชร์โตเบอร์นี้ก็เป็นหนึ่งในผลงานที่เขานําไปด้วยครั้งนั้น หลังจากที่เขาประสบความสําเร็จทางงานดนตรีในการไปอเมริกาครั้งแรก โปรโคเฟียฟก็คิดจะย้ายไปอาศัยอยู่กรุงปารีส เขาใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น 16 ปี ตอนนั้นผลงานของเขาไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากแนวดนตรีของเขามีความล้ำหน้าเกิน คนที่นั่นไม่ค่อยเข้าใจ เขาจึงคิดจะกลับไปที่บ้านเกิดซึ่งเป็นสถานที่ที่ผลงานของเขายังเป็นที่ยอมรับ เขาไปใช้ชีวิตที่มอสโก ในปี ค.ศ.1936 และปี ค.ศ. 1948 โปรโคเฟียฟถูกโจมตีจากทางการครั้งแรกว่าดนตรีของเขามันไม่สอดคล้องกับกฏหมาย ดนตรีของเขาถูกห้ามแสดง ในตอนที่เค้าอายุ 54 ปี โปรโคเฟียฟนับได้ว่าเป็นนักแต่งเพลงชั้นแนวหน้าของสหภาพโซเวียต เขามีความสนใจในเรื่องของนวัตกรรมดนตรี โปรโคเฟียฟเดินทางไปต่างประเทศเพื่อหาความรู้และสร้างผลงานต่าง ๆ เขามีความสนใจการประพันธ์บัลเล่ต์ การทํางานดนตรีร่วมกับการสร้างภาพยนตร์ ในช่วงหลังของชีวิตเขาป่วยหนักเรื่อย ๆ จนได้เสียชีวิตในขณะมีอายุ 61 ปี 

-SERGEI PROKOFIEV-

“I DETEST IMITATION,

I DETEST HACKNEYED DEVICES.

-SERGEI PROKOFIEV-

Violin Concerto No.1 in D Major, Op. 19

 ไวโอลินคอนแชร์โตเบอร์หนึ่งเป็นเพลงที่ยังแสดงออกถึงยุคโรแมนติกอยู่ โปรโกเฟียฟแต่งเพลงนี้ในช่วงที่เขาค่อนข้างยุ่งอยู่กับ

การแต่งอุปรากรเรื่อง เดอะ แกมเบลอ (The Gambler) เขาเขียนคอนแชร์โตเบอร์นี้โดยมีความคิดว่าจะแต่งเป็น คอนแชร์ติโน (คอนแชร์โตแบบสั้น) โปรโคเฟียฟได้แรงบันดาลใจในการแต่งทํานองของคอนแชร์โตนี้มาจากตอนที่เขาไปดูการแสดงบทประพันธ์เพลงของคาโรล ซิมานอฟสกี (Karol Szymanowski) นักประพันธ์ชาวโปแลนด์ในเพลงชื่อ “Myths” บทเพลงไวโอลินคอนแขร์โตนี้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1923 และโปรโกเฟียฟได้ประพันธ์ท่วงทำนองที่ใช้เปิดคอนแชร์โตบทนี้ราวปี ค.ศ. 1915 ในขณะที่เขากำลังมีความรักกับ Nina Mescherskay ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานชิ้นนี้พร้อมกับบทเพลง Myth ของ Karol Szymanowski ด้วยเช่นกัน

Analysis

Form : Sonata form

Exposition (measure 1-55)

78644508_569203797176545_722060896975087

S. Prokofiev: Violin Concerto no.1 - I.Andantino (measure 1-7)

ทำนองหลักที่ 1 (Theme 1) 

บทเพลงเปิดตัวด้วยทำนองหลักที่ 1 ในแนวเดี่ยวไวโอลินซึ่งบรรเลงเหมือนกำลังอยู่ในความฝัน (sognando) ท่วงทำนองมีความเบา ล่องลอยมีลักษณะชวนให้เหมือนฝัน

78353614_2580806511987516_62987043199527
74360264_2456572958003547_71710161720899
74370660_505097210092302_369758909518734

S. Prokofiev: Violin Concerto no.1 - I.Andantino (measure 7-13)

ในห้องที่ 7 ในขณะที่แนวเดี่ยวไวโอลินดำเนินทำนองหลักที่ 1 อยู่นั้น ก็จะมีฟลูต คลาริเน็ต บรรเลงทำนองประสานเป็นในลักษณะเป็นขั้นคู่ สร้างบรรยากาศของเพลงให้เพราะขึ้น ในส่วนของวงเครื่องสายจะบรรเลงรัวประกอบอย่างเบา ๆ (tremolo)

78602337_2517689688462093_87733155221471

S. Prokofiev: Violin Concerto no. 1 - I. Andantino (measure 47)

ในห้องที่ 47 เริ่มที่จะค่อย ๆ มีพลังมากขึ้นเรื่อย ๆ และสุดท้ายนำเสนอโมทีฟที่สำคัญคือ trill motif

78353614_2580806511987516_62987043199527
78681687_1958858054258746_14842027130832

S. Prokofiev: Violin Concerto no.1 - I.Andantino (measure 63-65)

ในห้องที่ 63 มีการนำเสนอทำนองใหม่ ที่มีทำนองที่แสดงความเป็นรัสเซียอย่างชัดเจน

79238078_485737298967836_878945055463702

S. Prokofiev: Violin Concerto no.1 - I.Andantino (measure 93-98)

ในห้องที่ 93 นำมาสู่จุดจบของทำนองในท่อนแรกและกำลังจะเริ่มต้นใหม่ โดยไวโอลินนำเสนอทำนองใหม่ด้วย Pizzicato

78353614_2580806511987516_62987043199527
78638273_439987510024730_595318663491983

S. Prokofiev: Violin Concerto no.1 - I.Andantino (measure 139)

ในห้องที่139-144 ในไวโอลินโซโลมีการบรรเลงทำนองและใช้เทคนิคการเล่นที่มีลักษณะของเพลงพื้นบ้านของชาวรัสเซีย

prokof vln 1 tmpo 2.png
prokof vln 1 assai cont.png

S. Prokofiev: Violin Concerto No. 1 - I. Andantino (rehearsal mask 21)

ในเครื่องหมายที่21 จังหวะของบทเพลงถูกกำหนดขึ้นใหม่ (Andante assai) ซึ่งหมายความว่าจังหวะช้ากว่าตอนเริ่มต้นเพลงนิดหน่อยโดยไวโอลินถูกกำหนดให้ใส่ mute (con sord) ไวโอลินจะบรรเลงทำนองในลักษณะที่เบาและมีลักษณะชวนให้ฝัน ล่องลอยเหมือนในต้นเพลง และฟลูทจะทำหน้าที่บรรเลงทำนองหลักที่1

Bibliography

bottom of page